วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาควิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา




1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร 
          ตอบ
กฏหมายกับศีลธรรม
กฏหมายและศีลธรรมเป็นกฏเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่กฎหมายกำหนดพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ หากคิดร้ายในใจกฎหมายก็ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ศีลธรรมเป็นเรื่องของความรู้สึกภายในใจของมนุษย์ แม้คิดไม่ชอบในใจย่อมผิดศีลธรรมแล้ว  กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ มีบทลงโทษทางกฎหมาย แต่ศีลธรรมเกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์
นอกจากนี้ ศีลธรรมยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ว่าจะมีแบบแผนหรือโครงสร้างอย่างไร คงจะมีแต่เพียงความรู้สึกภายในจิตใจเท่านั้นที่จะเอามาเป็นตัววัดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอนอยู่ในตัวเอง ในส่วนของบทลงโทษก็เช่นกัน การละเมิดศีลธรรมย่อมไม่มีบทลงโทษที่เป็นผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือในทางทรัพย์สินแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประนามหยาบเหยียดจากบุคคลต่างๆในสังคมเท่านั้น

กฎหมายกับจารีตประเพณี
ความคล้ายคลึงระหว่างจารีตประเพณีและกฎหมาย คือเป็นข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ ไม่ได้ควบคุมถึงภายในจิตใจเหมือนศีลธรรม โดยกฏหมายรัฐเป็นผู้กำหนดบังคับใช้ มีบทลงโทษตามกฏหมาย แต่จารีตประเพณีประชาชนเป็นผู้กำหนด เช่น เช่นการที่เราพบบุคคลอื่น อาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เราเข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงานในเรื่องของการหมั้น อย่างของไทยเรามีการที่จะต้องไปสู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมากมีสินสอด มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิง
กฎหมายกับจารีตประเพณีก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในแง่ของความชัดเจนในการกำหนดกฎเกณฑ์ และวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืน ในเรื่องความชัดเจนนั้น เป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายย่อมมีความชัดเจนในการกำหนดแบบแผนความประพฤติของบุคคลมากกว่าจารีตประเพณีอย่างแน่นอน เนื่องจากกฎหมายจะมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งใดสามารถทำได้ และสิ่งใดไม่สามารถทำได้ ตรงกันข้ามกับจารีตประเพณีที่มีเพียงแต่การปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น ไม่มีการกำหนดจารีตประเพณีไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด จึงเป็นการยากที่บุคคลนอกท้องถิ่น จะรู้และเข้าใจได้ว่า ชุมชนนั้นมีจารีตประเพณีที่ถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง
       ในส่วนของการลงโทษนั้นก็มีความแตกต่างกัน คือ กฎหมายจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนแน่นอนตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่บทลงโทษจะเป็นผลร่ายแก่ผู้ฝ่าฝืนในแง่ของเสรีภาพ(ติดคุก) หรือ ทรัพย์สินเท่านั้น(ชดใช้ค่าเสียหาย) จะมีแค่ความผิดในบางกรณีเท่านั้นที่อาจจะถูกประนามหยามเหยียดจากสังคม แต่ในส่วนของจารีตประเพณีนั้นแน่นอนว่าขนาดแบบแผนความประพฤติยังไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร บทลงโทษจากการฝ่าฝืนย่อมไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน นอกจากนี้บทลงโทษทางจารีตประเพณีส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือทางทรัพย์สินเฉกเช่นกฎหมายแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประนามหยามเหยียดจากคนในท้องถิ่นด้วยกันเอง และหากเป็นกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง ผู้ฝ่าฝืนก็อาจถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นได้ เป็นต้น

       อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า จารีตประเพณี ศาสนา หรือศีลธรรมจะมีความแตกต่างกับกฎหมายมากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญเลยก็คือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ในสังคมประพฤติตน หรือกระทำสิ่งต่างๆ ในทางทีดีที่งาม เพื่อความสุขกายสบายใจของตัวผู้ปฎิบัติเอง และเพื่อความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของบุคคลต่างๆในสังคมเป็นสำคัญ


2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมายเป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน ในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจใจการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
       (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
       (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
      (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
           การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of laws) มีดังนี้
          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่อย่างไรก็ตามยังมีกฎข้อบังคับอีกรูปแบบหนึ่งในทางวิชาการและในทางที่ปฏิบัติที่ถือว่าเป็นกฎหมาย คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ บางครั้งเรียกว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติและไม่มีการลงปรมาภิไธย ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ให้มีศักดิ์ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกที่แก้ไขดังกล่าว
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ที่ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา ได้แก่ พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ หากเกี่ยวพันหลายเรื่อง ออกในรูปประมวลกฎหมายก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น สำหรับประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้นๆอีกครั้งหนึ่ง
           3 พระราชกำหนด เป็นกฎที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญและทรงตราขึ้นตามคำแนะนำคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลกรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัยความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เช่น คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. เมื่อตราแล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 วัน) ถ้าสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเสมือนพระราชบัญญัติ ถ้าไม่อนุมัติมีอันตกไปไม่มีผล
          4.ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโองการได้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆให้พระราชอำนาจไว้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนดใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะขับขัน อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี
           5.พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่มหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ตำกว่าพระราชบัญญัติพระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการและจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ยังมีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญเช่นพระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภามีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
          6.กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้นๆเป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าสำคัญรองลงมา ก็ออกเป็นกฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บท นอกจากกฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ จะออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย
          7.เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ้งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่ประราชบัญญัติกำหนด
         


3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
 "วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" 
จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้

ตอบ ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ซึ่งเรียนวิชากฎหมายการศึกษา และก็จะไปเป็นครูในอนาคตนั้น ดิฉันคิดว่า ครูได้ลงโทษนักเรียนรุนแรงเกินไป โดยครูได้ตีหลังของนักเรียนชายวัย 6 ขวบ ซึ่งสภาพแผ่หลังนั้นมีรอยช้ำแดง ซึ่งสาเหตุที่ตีนั้นเพราะเพียงว่านักเรียนอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ การลงโทษแบบนี้เป็นการลงโทษที่ไม่ถูกวิธี เพราะการตีแผ่นหลังนักเรียนไม่ได้ช่วยให้นักเรียนอ่านหนังสือได้คล่อง อีกทั้งยังเป็นการทำให้นักเรียนนั้นไม่อยากที่จะฝึกอ่านหนังสือต่อไปอีกเลย หากนั้นนักเรียนคนใดอ่านไม่ค่อยออก ครูควรสอนนักเรียนตัวต่อตัว หรือไม่ก็เรียนนักเรียนมาฝึกอ่านในเวลาว่าง เพื่อเป็นการแข้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุโดยการทุบตี
ครูควรคิด ไตร่ตรองก่อนที่จะลงโทษนักเรียน ว่าถ้าลงโทษแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ไม่ใช่อารมณ์ในการลงโทษ ครูควรคำนึงถึงระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วย ซึ่งระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาพ.ศ. 2548 ได้กำหนดวิธีการลงโทษไว้ซึ่งจะนำมากล่าวถึงในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญดังนี้
          ข้อ 4. ...“การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
          ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความ ประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีต่อไปให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษ นักเรียน นักศึกษา
          ถ้าข้าพเจ้าเป็นครูแล้วเจอสถานการณ์แบบนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ว่ากล่าวโดยใช้คำพูดที่รุนแรง หรือทุบตีนักเรียน แต่ข้าพเจ้าจะถามถึงสาเหตุว่าทำไมนักเรียนจึงอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ ตอนเรียนได้ตั้งใจเรียนหรือเปล่า เข้าใจที่ครูสอนไหม กลับไปบ้านได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาไหม และก็จะบอกนักเรียนว่าถ้าหากนักเรียนไม่เข้าใจ หรือมีข้อสงสัยอะไรก็สามารถมาถามครูได้ และถ้านักเรียนมีเวลาว่างให้นักเรียนมาเรียนเสริมกับครู เพราะข้าพเจ้าคิดว่าความรุนแรงไม่ได้ช่วยทำให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่สิ่งที่จะทำได้คือหาสาเหตุของพฤติกรรมนั้นแล้วนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
ตอบ
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคของตนเองในด้านการเรียน
จุดแข็ง (S)
1. เวลาอาจารย์สอน จะคิดตามสิ่งที่อาจารย์พูด ตั้งใจเรียน
2. มาเรียนตรงเวลา
3. เตรียมเอกสาร เนื้อหาก่อนมาเรียน
4. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน ทำให้มีแนวคิดมุมมองใหม่ๆ ในการเรียนเพิ่มขึ้น
5. รับผิดชอบงานที่อาจารย์สั่ง หากไม่ได้เข้าเรียน ก็จะสอบถามเพื่อนหรือสอบถามอาจารย์ว่าตนเองมีงานค้างอะไรบ้าง แล้วก็จะทำส่งย้อนหลัง
6. ถ้ามีข้อสงสัยก็จะสอบถามเพื่อนหรืออาจารย์ก่อนที่จะตัดสินใจทำ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

จุดอ่อน (w)
1. ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ชอบทำการบ้านก่อนวันที่จะส่ง จึงทำให้นอนดึก
2. ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเลใจ จึงทำให้เสียโอกาสในบางครั้ง
3. ไม่ค่อยรอบคอบ
4. เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม
5. บางครั้งไม่เข้าในเนื้อหาในวิชาที่เป็นทฤษฎี ต้องทำความเข้าใจเป็นเวลานานจึงจะเข้าใจ
6. ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ จะอ่านเฉพาะเวลาสอบเท่านั้น

โอกาส (o)
1. สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
2. อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอ ซึ่งทำให้ดิฉันสามารถจดจำเนื้อหาส่วนที่สำคัญได้
3. สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน โดยปราศจากข้อสงสัย
4. มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม สามารถทำงานกลุ่มได้ดี ชอบช่วยเหลือเพื่อน

อุปสรรค (T)
1.จำเนื้อหาที่เกี่ยวกับทฤษฎีไม่ค่อยได้
2. มีกิจกรรมระหว่างเรียนทำให้เนื้อหาที่เรียนไม่ต่อเนื่องกัน ทำให้บางครั้งลืมเนื้อหาที่เรียนและไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน
3. ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานานในเรื่องที่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี ทำให้ไม่ทันเพื่อนในบางครั้ง



5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย
ตอบ  จากการที่ได้เรียนวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษากับอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธ์ ซึ่งอาจารย์ก็มีข้อดีและข้อเสียในประเด็นการสอนดังนี้
ข้อดี :
1. อาจารย์ได้สอนนักเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ผู้เรียนไปศึกษาเนื้อหาความรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน มากกว่าอาจารย์บรรยายในห้องเรียน
2. อาจารย์ให้นักศึกษาได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียน โดยอาจารย์ได้นำบล็อกเกอร์ (Blogger) มาใช้ในการสอนนักศึกษา ให้นักศึกษาทำการบ้านส่งอาจารย์ผ่านบล็อกเกอร์ ซึ่งการสอนโดยใช้บล็อกเกอร์นี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ไม่เฉพาะในห้องเรียน และหากวันใด อาจารย์ไม่ได้สอน อาจารย์ก็จะสั่งงานและเรียนผ่านบล็อกเกอร์ ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้ได้โดยไม่ต้องเข้าเรียน
 3. อาจารย์จะให้นักเรียนไปศึกษาหัวข้อที่ได้รับมอบหมายแล้วนำมานำเสนอให้เพื่อนๆฟัง ซึ่งเป็นการเรียนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
4. หากมีข้อสงสัยในเนื้อหาที่เรียนอาจารย์ก็จะตอบคำถามนักศึกษาอย่างละเอียด
5. อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา

ข้อเสีย
          1. ในบางครั้งเนื้อหาที่เกี่ยวกับกฎหมายที่ให้นักศึกษาได้ศึกษาด้วยตนเองนั้นมีจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาการศึกษานาน
          2. บางครั้งการในการสอนผ่านบล็อกเกอร์จะต้องใช้อินเทอร์เน็ต แต่ในบางครั้งคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาอินเทอร์เน็ตก็เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนในบางครั้ง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น