วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาควิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา




1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร 
          ตอบ
กฏหมายกับศีลธรรม
กฏหมายและศีลธรรมเป็นกฏเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่กฎหมายกำหนดพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ หากคิดร้ายในใจกฎหมายก็ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ศีลธรรมเป็นเรื่องของความรู้สึกภายในใจของมนุษย์ แม้คิดไม่ชอบในใจย่อมผิดศีลธรรมแล้ว  กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ มีบทลงโทษทางกฎหมาย แต่ศีลธรรมเกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์
นอกจากนี้ ศีลธรรมยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ว่าจะมีแบบแผนหรือโครงสร้างอย่างไร คงจะมีแต่เพียงความรู้สึกภายในจิตใจเท่านั้นที่จะเอามาเป็นตัววัดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอนอยู่ในตัวเอง ในส่วนของบทลงโทษก็เช่นกัน การละเมิดศีลธรรมย่อมไม่มีบทลงโทษที่เป็นผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือในทางทรัพย์สินแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประนามหยาบเหยียดจากบุคคลต่างๆในสังคมเท่านั้น

กฎหมายกับจารีตประเพณี
ความคล้ายคลึงระหว่างจารีตประเพณีและกฎหมาย คือเป็นข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ ไม่ได้ควบคุมถึงภายในจิตใจเหมือนศีลธรรม โดยกฏหมายรัฐเป็นผู้กำหนดบังคับใช้ มีบทลงโทษตามกฏหมาย แต่จารีตประเพณีประชาชนเป็นผู้กำหนด เช่น เช่นการที่เราพบบุคคลอื่น อาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เราเข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงานในเรื่องของการหมั้น อย่างของไทยเรามีการที่จะต้องไปสู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมากมีสินสอด มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิง
กฎหมายกับจารีตประเพณีก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในแง่ของความชัดเจนในการกำหนดกฎเกณฑ์ และวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืน ในเรื่องความชัดเจนนั้น เป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายย่อมมีความชัดเจนในการกำหนดแบบแผนความประพฤติของบุคคลมากกว่าจารีตประเพณีอย่างแน่นอน เนื่องจากกฎหมายจะมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งใดสามารถทำได้ และสิ่งใดไม่สามารถทำได้ ตรงกันข้ามกับจารีตประเพณีที่มีเพียงแต่การปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น ไม่มีการกำหนดจารีตประเพณีไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด จึงเป็นการยากที่บุคคลนอกท้องถิ่น จะรู้และเข้าใจได้ว่า ชุมชนนั้นมีจารีตประเพณีที่ถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง
       ในส่วนของการลงโทษนั้นก็มีความแตกต่างกัน คือ กฎหมายจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนแน่นอนตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่บทลงโทษจะเป็นผลร่ายแก่ผู้ฝ่าฝืนในแง่ของเสรีภาพ(ติดคุก) หรือ ทรัพย์สินเท่านั้น(ชดใช้ค่าเสียหาย) จะมีแค่ความผิดในบางกรณีเท่านั้นที่อาจจะถูกประนามหยามเหยียดจากสังคม แต่ในส่วนของจารีตประเพณีนั้นแน่นอนว่าขนาดแบบแผนความประพฤติยังไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร บทลงโทษจากการฝ่าฝืนย่อมไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน นอกจากนี้บทลงโทษทางจารีตประเพณีส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือทางทรัพย์สินเฉกเช่นกฎหมายแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประนามหยามเหยียดจากคนในท้องถิ่นด้วยกันเอง และหากเป็นกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง ผู้ฝ่าฝืนก็อาจถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นได้ เป็นต้น

       อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า จารีตประเพณี ศาสนา หรือศีลธรรมจะมีความแตกต่างกับกฎหมายมากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญเลยก็คือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ในสังคมประพฤติตน หรือกระทำสิ่งต่างๆ ในทางทีดีที่งาม เพื่อความสุขกายสบายใจของตัวผู้ปฎิบัติเอง และเพื่อความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของบุคคลต่างๆในสังคมเป็นสำคัญ


2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมายเป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน ในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจใจการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
       (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
       (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
      (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
           การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of laws) มีดังนี้
          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่อย่างไรก็ตามยังมีกฎข้อบังคับอีกรูปแบบหนึ่งในทางวิชาการและในทางที่ปฏิบัติที่ถือว่าเป็นกฎหมาย คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ บางครั้งเรียกว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติและไม่มีการลงปรมาภิไธย ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ให้มีศักดิ์ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกที่แก้ไขดังกล่าว
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ที่ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา ได้แก่ พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ หากเกี่ยวพันหลายเรื่อง ออกในรูปประมวลกฎหมายก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น สำหรับประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้นๆอีกครั้งหนึ่ง
           3 พระราชกำหนด เป็นกฎที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญและทรงตราขึ้นตามคำแนะนำคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลกรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัยความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เช่น คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. เมื่อตราแล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 วัน) ถ้าสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเสมือนพระราชบัญญัติ ถ้าไม่อนุมัติมีอันตกไปไม่มีผล
          4.ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโองการได้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆให้พระราชอำนาจไว้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนดใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะขับขัน อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี
           5.พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่มหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ตำกว่าพระราชบัญญัติพระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการและจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ยังมีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญเช่นพระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภามีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
          6.กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้นๆเป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าสำคัญรองลงมา ก็ออกเป็นกฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บท นอกจากกฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ จะออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย
          7.เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ้งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่ประราชบัญญัติกำหนด
         


3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
 "วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" 
จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้

ตอบ ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ซึ่งเรียนวิชากฎหมายการศึกษา และก็จะไปเป็นครูในอนาคตนั้น ดิฉันคิดว่า ครูได้ลงโทษนักเรียนรุนแรงเกินไป โดยครูได้ตีหลังของนักเรียนชายวัย 6 ขวบ ซึ่งสภาพแผ่หลังนั้นมีรอยช้ำแดง ซึ่งสาเหตุที่ตีนั้นเพราะเพียงว่านักเรียนอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ การลงโทษแบบนี้เป็นการลงโทษที่ไม่ถูกวิธี เพราะการตีแผ่นหลังนักเรียนไม่ได้ช่วยให้นักเรียนอ่านหนังสือได้คล่อง อีกทั้งยังเป็นการทำให้นักเรียนนั้นไม่อยากที่จะฝึกอ่านหนังสือต่อไปอีกเลย หากนั้นนักเรียนคนใดอ่านไม่ค่อยออก ครูควรสอนนักเรียนตัวต่อตัว หรือไม่ก็เรียนนักเรียนมาฝึกอ่านในเวลาว่าง เพื่อเป็นการแข้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุโดยการทุบตี
ครูควรคิด ไตร่ตรองก่อนที่จะลงโทษนักเรียน ว่าถ้าลงโทษแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ไม่ใช่อารมณ์ในการลงโทษ ครูควรคำนึงถึงระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วย ซึ่งระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาพ.ศ. 2548 ได้กำหนดวิธีการลงโทษไว้ซึ่งจะนำมากล่าวถึงในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญดังนี้
          ข้อ 4. ...“การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
          ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความ ประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีต่อไปให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษ นักเรียน นักศึกษา
          ถ้าข้าพเจ้าเป็นครูแล้วเจอสถานการณ์แบบนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ว่ากล่าวโดยใช้คำพูดที่รุนแรง หรือทุบตีนักเรียน แต่ข้าพเจ้าจะถามถึงสาเหตุว่าทำไมนักเรียนจึงอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ ตอนเรียนได้ตั้งใจเรียนหรือเปล่า เข้าใจที่ครูสอนไหม กลับไปบ้านได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาไหม และก็จะบอกนักเรียนว่าถ้าหากนักเรียนไม่เข้าใจ หรือมีข้อสงสัยอะไรก็สามารถมาถามครูได้ และถ้านักเรียนมีเวลาว่างให้นักเรียนมาเรียนเสริมกับครู เพราะข้าพเจ้าคิดว่าความรุนแรงไม่ได้ช่วยทำให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่สิ่งที่จะทำได้คือหาสาเหตุของพฤติกรรมนั้นแล้วนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
ตอบ
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคของตนเองในด้านการเรียน
จุดแข็ง (S)
1. เวลาอาจารย์สอน จะคิดตามสิ่งที่อาจารย์พูด ตั้งใจเรียน
2. มาเรียนตรงเวลา
3. เตรียมเอกสาร เนื้อหาก่อนมาเรียน
4. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน ทำให้มีแนวคิดมุมมองใหม่ๆ ในการเรียนเพิ่มขึ้น
5. รับผิดชอบงานที่อาจารย์สั่ง หากไม่ได้เข้าเรียน ก็จะสอบถามเพื่อนหรือสอบถามอาจารย์ว่าตนเองมีงานค้างอะไรบ้าง แล้วก็จะทำส่งย้อนหลัง
6. ถ้ามีข้อสงสัยก็จะสอบถามเพื่อนหรืออาจารย์ก่อนที่จะตัดสินใจทำ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

จุดอ่อน (w)
1. ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ชอบทำการบ้านก่อนวันที่จะส่ง จึงทำให้นอนดึก
2. ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเลใจ จึงทำให้เสียโอกาสในบางครั้ง
3. ไม่ค่อยรอบคอบ
4. เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม
5. บางครั้งไม่เข้าในเนื้อหาในวิชาที่เป็นทฤษฎี ต้องทำความเข้าใจเป็นเวลานานจึงจะเข้าใจ
6. ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ จะอ่านเฉพาะเวลาสอบเท่านั้น

โอกาส (o)
1. สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
2. อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอ ซึ่งทำให้ดิฉันสามารถจดจำเนื้อหาส่วนที่สำคัญได้
3. สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน โดยปราศจากข้อสงสัย
4. มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม สามารถทำงานกลุ่มได้ดี ชอบช่วยเหลือเพื่อน

อุปสรรค (T)
1.จำเนื้อหาที่เกี่ยวกับทฤษฎีไม่ค่อยได้
2. มีกิจกรรมระหว่างเรียนทำให้เนื้อหาที่เรียนไม่ต่อเนื่องกัน ทำให้บางครั้งลืมเนื้อหาที่เรียนและไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน
3. ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานานในเรื่องที่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี ทำให้ไม่ทันเพื่อนในบางครั้ง



5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย
ตอบ  จากการที่ได้เรียนวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษากับอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธ์ ซึ่งอาจารย์ก็มีข้อดีและข้อเสียในประเด็นการสอนดังนี้
ข้อดี :
1. อาจารย์ได้สอนนักเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ผู้เรียนไปศึกษาเนื้อหาความรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน มากกว่าอาจารย์บรรยายในห้องเรียน
2. อาจารย์ให้นักศึกษาได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียน โดยอาจารย์ได้นำบล็อกเกอร์ (Blogger) มาใช้ในการสอนนักศึกษา ให้นักศึกษาทำการบ้านส่งอาจารย์ผ่านบล็อกเกอร์ ซึ่งการสอนโดยใช้บล็อกเกอร์นี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ไม่เฉพาะในห้องเรียน และหากวันใด อาจารย์ไม่ได้สอน อาจารย์ก็จะสั่งงานและเรียนผ่านบล็อกเกอร์ ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้ได้โดยไม่ต้องเข้าเรียน
 3. อาจารย์จะให้นักเรียนไปศึกษาหัวข้อที่ได้รับมอบหมายแล้วนำมานำเสนอให้เพื่อนๆฟัง ซึ่งเป็นการเรียนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
4. หากมีข้อสงสัยในเนื้อหาที่เรียนอาจารย์ก็จะตอบคำถามนักศึกษาอย่างละเอียด
5. อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา

ข้อเสีย
          1. ในบางครั้งเนื้อหาที่เกี่ยวกับกฎหมายที่ให้นักศึกษาได้ศึกษาด้วยตนเองนั้นมีจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาการศึกษานาน
          2. บางครั้งการในการสอนผ่านบล็อกเกอร์จะต้องใช้อินเทอร์เน็ต แต่ในบางครั้งคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาอินเทอร์เน็ตก็เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนในบางครั้ง








อนุทินที่ 8 สิ่งที่ได้จากการอบรม SWOT




SWOT


แนวคิดของ SWOT Analysis
SWOT Analysis  เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต  SWOT  เป็นตัวย่อของข้อความที่มีความหมายดังนี้
Strengths                หมายถึง          จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses            หมายถึง          จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities           หมายถึง          โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats                   หมายถึง          อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการ
                                                ดำเนินงานขององค์การ

1) หลักการสำคัญของ SWOT  ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม 2 ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค  การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร SWOT จะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่จะมีผลต่อองค์กร และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่
2) ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ SWOT ผลจากการวิเคราะห์  SWOT  นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
3) ขั้นตอนวิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysis การวิเคราะห์ SWOTจะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7แบบฝึกหัดทบทวน



อนุทินที่ 7

ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติในหัวข้อที่ 1 และ2 ตอบคำถามลงในบล็อกของนักศึกษา 4 ข้อมีรายละเอียดดังนี้
1.พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
2.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง
กฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียน
          กฎกระทรวงว่าด้วยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          กฎกระทรวงต่าง ๆ

ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ลงในบล็อกของนักศึกษา

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลที่อยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
   ก. ผู้ปกครอง            ข.เด็ก             ค.การศึกษาภาคบังคับ              ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ก. ผู้ปกครอง 
ตอบ ก. ผู้ปกครอง หมายถึง บิดา มารดา หรือบิดาหรือมารดาหรือบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือบุคคลที่เด็กอยู่ รับใช้ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายเพ่งเเละพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน

ข.เด็ก 
ตอบ  ข.เด็ก หมายถึง เด็กซึ่งอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเว้นเเต่เด็กที่สอบเข้าย่างปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ

ค.การศึกษาภาคบังคับ 
ตอบ ค. การศึกษาภาคบังคับ หมายถึง การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาเเห่งชาติ

ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด


3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ อย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ เจ้าหน้าที่รายงานต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่พบเด็กในสถานที่นั้นเพื่อดำเนินการให้เด็กเข้าเรียนในสถานศึกษานั้นเเละหากผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดนั้นต้องระวางโทษไม่เกิน หนึ่งพันบาท
 หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาตามมาตรา 5 ให้ดำเนินการให้เด็กนั้น ได้เข้าเรียนในสถานศึกษานั้น แล้วรายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณีทราบ  ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา


4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ
๑. ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง (ตามมาตรา ๙) จากเดิมมี ๒ ส่วนราชการได้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีการเพิ่มอีก ๑ ส่วนราชการได้แก่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดโครงสร้างการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ  สำหรับการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลาง  (ตามมาตรา ๑๐)  กำหนดให้เป็นกรมหรือให้ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมี ๓ ส่วนราชการได้แก่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
๒. ร่างมาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ โดยกำหนดให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  (ตามมาตรา ๒๒)
๓. ร่างมาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ตามมาตรา ๒๓ (๒) (๓)  ซึ่งส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องอยู่ในอำนาจการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๔.  ร่างมาตรา ๖ ได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการในกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม โดยเพิ่มส่วนที่ ๔ ได้แก่ มาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ และมาตรา ๓๒/๓ เพื่อรองรับการทำหน้าที่ของส่วนราชการและการแบ่งส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งการปกครอง การบังคับบัญชาของอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเทียบเท่าอธิบดีในการบริหารราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมรวมตลอดถึงผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
๕. ร่างมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (ตามมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไป
๖. ร่างมาตรา ๑๐ ถึงมาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาราชการแทนของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑  มาตรา ๕๑/๑  มาตรา  ๕๒ และมาตรา ๕๒/๑)  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไป
๗. กำหนดเป็นบทเฉพาะกาล เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการและรองรับส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ให้สามารถบริหารราชการต่อไปได้ซึ่งเกี่ยวกับ
    (๑) การโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ ภาระผูกพันข้าราชการ  ลูกจ้าง  พนักงานราชการ  เงินงบประมาณ  เงินนอกงบประมาณและอัตรากำลังเฉพาะส่วนไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ตามมาตรา ๑๕ ถึงมาตรา ๑๗)
    (๒) การโอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง ไปเป็นของ อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อ.ก.พ.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและ อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนแล้วแต่กรณี   (ตามมาตรา ๑๘   ถึงมาตรา ๒๐)
    (๓) การโอนอำนาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เฉพาะส่วนไปเป็นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  (ตามมาตรา ๒๑)
              (๔) การปฏิบัติหน้าที่บริหารงานบุคคลเป็นการชั่วคราวของ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง และ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวง   (ตามมาตรา  ๒๒ และมาตรา  ๒๓)
    (๕) การรักษาการตามพระราชบัญญัติของรัฐมนตรี  (ตามมาตรา ๒๔)




วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6 แบบฝึกหัดทบทวน


แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา
ตอบ การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต
ตอบ การศึกษาตลอดชีวิต คือ การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา
ตอบ มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสาหรับส่งเสริมและกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน
ตอบ การประกันคุณภาพภายใน คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก
ตอบ การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน
ตอบ ผู้สอน คือ ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ฌ. ครู
ตอบ ครู คือ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ญ. คณาจารย์
ตอบ คณาจารย์ คือ บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา
ตอบ ผู้บริหารสถานศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา
ตอบ ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่5 วิเคราะห์ข่าว


วิเคราะห์ข่าว
เผชิญหน้า! พระ-ศิษย์ธรรมกาย เรียงหน้ากระดานประจันหน้าทหารผลักดันพ้นพื้นที่




พระ-ศิษย์ธรรมกาย หน้ากระดานเรียงหนึ่ง ประจันหน้าทหาร ขณะเคลื่อนกำลังค้นวัดพระธรรมกายผ่านประตู 1 ผลักดันทหารออกจากพื้นที่ ล่าสุดทหารยอมถอยแล้ว
          เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 บรรยากาศที่บริเวณประตู 1 วัดพระธรรมกาย ช่วงทางเข้าอาคารบุญรักษา มีเจ้าหน้าที่ทหารกว่า 50 นาย เดินทางเข้ารื้อประตู เพื่อเข้าไปตรวจค้น ทำให้พระสงฆ์ และคณะกลุ่มลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย พากันตั้งแถวหน้ากระดานขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทหารไว้ ฝั่งของพระสงฆ์และศิษยานุศิษย์ ได้สวดมนต์และเดินหน้าเข้าหาเจ้าหน้าที่ และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทหารออกจากพื้นที่ รวมถึงเรียกร้องให้ยกเลิก ม.44 ที่ให้วัดพระธรรมกาย เป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ขณะที่ทางฝั่งทหารเองก็ยอมถอยร่นออกมาเรื่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ เมื่อออกมาถึงบริเวณทางเข้า เจ้าหน้าที่จึงนำรั้วลวดหนามมาขวางไว้ สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่มีความรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้น
           จนกระทั่งล่าสุดเมื่อเวลา 10.30 น. พระสงฆ์และสามเณร และลูกศิษย์ ต่างช่วยกันนำท่อประปาปูนขนาดใหญ่มาปิดกั้นทางเข้า พร้อมกับเจรจาให้เจ้าหน้าที่ออกจากวัด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็ยอมล่าถอยออกไป
          ส่วนความเคลื่อนไหวที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 นั้น พ.ต.อ. ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พ.ต.อ. กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางเข้ามาร่วมประชุมประเมินสถานการณ์ และได้มีการเชิญพระสงฆ์ 6 รูป มาพูดคุยที่ ตชด.ภาค 1 และคาดว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดอีกครั้งภายหลังการประชุม

อนุทินที่ 4 ตอบคำถามท้ายบทเรียน



แบบฝึกหัดทบทวน



เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
          ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือคณะราษฎร์ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)


2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 คือ
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)