แบบฝึกหัดทบทวน
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก
และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือคณะราษฎร์
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
7
เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า
“บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน
ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี
สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์
ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ
หมวด 2
สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14
ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน
การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
(ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ
แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช
2492 คือ
หมวด 3
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36
บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม
เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา
สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล
ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4
หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53
บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา
ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5
แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62
การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์
มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63
รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม
การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ
การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา
รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64
การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล
จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีส่วนเหมือนกันดังนี้
รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม
การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ
รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ
และของท้องถิ่นจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่า เล่าเรียน
รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ
ในการศึกษาอบรมทุกระดับตามสมควร รัฐพึงสนับสนุนการวิจัยศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ
พึงส่งเสริมการสถิติ และพึงใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
ส่วนที่ต่างกันของแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 คือ
แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2521 จะเพิ่มเติมตรงที่ รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
และเพื่อความมั่นคงของรัฐ (ราชกิจจานุเบกษา, 2521,
17) ซึ่งต่างจาก แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 และ พุทธศักราช 2517
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่
1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างกันดังนี้
ประเด็นที่
1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน
ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ
การตั้งสมาคม การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งตัวบทกฎหมาย
ซึ่งต่างจาก
ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492-2517
ที่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามากกว่าดังนี้ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรม
ตามความสามารถของบุคคล หน้าที่ของชนชาวไทย
บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษาขั้นมูลฐาน
ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี
มีร่างกายแข็งแรง อานามัยสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ
การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา ดาเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และการจัดอบรมชั้นประถมศึกษา
ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ซึ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่าในช่วง พุทธศักราช
2492-2517 จะให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษามากกว่าในช่วง
พุทธศักราช 2475-2490
5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่
3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 แตกต่างกันกับประเด็นที่
4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ดังนี้
ประเด็นที่ 3
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาอบรม ไม่เป็นปรปักษ์และไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา
เสรีภาพในวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม
ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐกำหนดให้สถานศึกษาดาเนินการตามกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง
ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ รัฐสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ
และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ และรัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ
ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
สิทธิและเสรีภาพในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนการวิจัยได้รับการคุ้มครอง รัฐจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย
และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน
ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน
จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจ
เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ
มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน และส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้
ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ
ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
อธิบาย
ตอบ การที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาที่เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ
ซึ่งจะทำให้การจัดการศึกษานั้นกระจายไปทั่วถึงและมีคุณภาพ ปิดช่องว่างในการจัดการศึกษา
ถ้าหากรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นไม่ระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงนั้นจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาขึ้น
ทำให้โอกาสในการได้รับการศึกษาต่างกัน
คนมีอำนาจหรือมีความร่ำรวยจะได้ได้โอกาสมากกว่าคนจนหรือประชาชนธรรมดา
จนอาจทำให้บุคคลกรภายในประเทศไม่มีความพร้อมสู่การพัฒนา
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ”
จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ สาเหตุที่รัฐต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” เพราะจะทำให้ประชาชนในประเทศได้รับการศึกษามากขึ้น เพราะ
เมื่อรัฐมีการกำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษาแล้ว จะต้องปฏิบัติตามที่รัฐก็จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไข
และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติควบคู่ไปกันด้วย
เพื่อที่จะทำให้การศึกษาเป็นไปในแนวทางที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษาจนอาจทำให้ประเทศชาติเกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
กลายเป็นว่าจะมีเเค่บุคคลบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นมีอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 ในมาตรา 80
ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ซึ่งถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้น จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาในท้องถิ่นนั้นๆจะได้ร่วมกันจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบทของคนท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้การศึกษานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผู้คนก็จะได้รับการศึกษามากขึ้น ประเทศก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ
9. เหตุใดการจัดการศึกษา
รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
จงอธิบาย
ตอบ
เพราะว่าเราทุกคนที่เกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย
หรือหญิง ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสทุกคนมีสิทธิในความเป็นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้
เพราะฉะนั้นทุกคนควรได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ตามที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย ส่วนที่ 8
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตรา 49
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี
ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลาบาก
ต้องได้รับสิทธิตามสิทธิและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาองค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ จากผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ในด้านการศึกษา มีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ได้มีการเก็บค่าใช้จ่ายเเต่อย่างใด
จนทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าได้มีโอกาสเเละได้ศึกษาเล่าเรียน มีการให้ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
ในเเต่ละปีรัฐบาลก็จะมีค่าอุปกรณ์ให้กับนักเรียนเพื่อเเบ่งเบาภาระทางบ้าน
ไม่ว่าจะเป็น สมุด หนังสือเรียนฟรี เเละอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย มีการมอบทุนการศึกษา
ให้กับนักเรียนในโอกาสต่างๆ เช่นนักเรียนเรียนดีเเต่ยากจน
หรืออาจเป็นทุนสนับสนุนความเป็นเลิศของนักเรียนในเเต่ละด้าน และมีการให้การศึกษาแก่ผู้พิการเพราะทุกคนที่เกิดมามีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาไม่เว้นเเต่ผู้พิการต้องได้รับการดูเเลเเละได้รับการศึกษาเพื่อที่จะได้นำความรู้ไปช่วยเหลือตัวเอง
เเละในการทำอาชีพต่อไปในอนาคต ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
ประเทศมีประชาชนที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้นทำให้ประเทศพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น