วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3 วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการศึกษา



วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา

ผู้ปกครองเด็กนร.ชั้น ม.1 ในจ.ชัยภูมิ ร้องขอความเป็นธรรมกับสื่อ
หลังหลานถูกอาจารย์ฝ่ายปกครองตบบ้องหูจนแก้วหูฉีก
แถมยังกระทืบซ้ำต่อหน้าเพื่อนๆในห้องเรียน




          เมื่อวันที่ 28 พ.ค. นางพี (นามสมมุติ) อายุ 58 ปี ชาวบ้านใน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ได้พาตัว ด.ช.โต้ง (นามสมมุติ) หลานชายอายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ชัยภูมิ เข้าร้องเรียนต่อผู้สื่อข่าว กรณี ด.ช.โต้ง ได้ถูกครูที่โรงเรียนทำร้ายร่างกายจนแก้วหูฉีกขาด โดย นางพี เล่าว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา ด.ช.โต้ง หลานชาย ได้กลับมาจากโรงเรียนด้วยน้ำตานองหน้า พร้อมกับเล่าให้ตนฟังว่า ขณะที่กำลังจะเลิกเรียนได้หยอกล้อเล่นกันกับเพื่อนร่วมห้องในห้องเรียน ตามประสาเด็กนักเรียนที่เพิ่งเปิดเทอมใหม่ ระหว่างนั้นได้มี นายโด้ (นามสมมุติ) ซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายปกครอง ได้ผ่านมาเห็นเข้า จึงเรียก ด.ช.โต้ง กับเพื่อนให้มาพบที่บริเวณหน้าชั้นเรียน จากนั้นอาจารย์คนดังกล่าวได้ใช้มือตบเข้าที่บริเวณใบหน้าและกกหูด้านซ้ายของ ด.ช.โต้ง อย่างแรง จนล้มฟุบไปกองกับพื้น และยังได้ใช้เท้ากระทืบซ้ำไปที่ชายโครงอีก 1 ครั้ง ท่ามกลางสายตาเพื่อนนักเรียนร่วมห้องกว่า 30 คน หลังจากนั้นก็ได้พูดจาข่มขู่ ด.ช.โต้ง ต่างๆนานา
          นางพี เล่าต่อไปว่า หลังจากหลานชายกลับมาถึงบ้าน และนำเรื่องมาเล่าให้ฟัง จากนั้นก็เริ่มมีอาการปวดหัว และปวดที่ในรูหูเป็นอย่างมาก จนทนไม่ไหวร้องไห้ตลอดเวลา ตนจึงนำตัวส่งไปพบแพทย์ที่ รพ.จัตุรัส ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่า หลานมีอาการสาหัส จึงส่งตัวต่อไปที่ รพ.ชัยภูมิ เมื่อแพทย์ตรวจรักษาด้วยการใช้กล่องส่องตรวจในรูหู พบว่าแก้วหูด้านซ้ายของหลานฉีกขาด และเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และหูซ้ายอาจต้องพิการไปตลอดชีวิต ทั้งนี้ตนรู้สึกสงสารหลานชายมาก เนื่องจากเป็นเด็กที่มีปมด้อย พ่อและแม่ได้แยกทางกันตั้งแต่เกิด จึงพาตัวหลานชายมาร้องเรียนกับผู้สื่อข่าวเพื่อขอความเป็นธรรม และอยากให้ทางโรงเรียนช่วยตรวจสอบพฤติกรรมของอาจารย์รายนี้ เนื่องจากเกรงว่าจะไปก่อเหตุกับเด็กคนอื่นๆอีก อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางด้านอาจารย์ชายที่ก่อเหตุได้เดินทางมาพบกับผู้ปกครองของ ด.ช.โต้ง โดยได้ยอมรับผิด และต้องการจะนำตัวเด็กไปให้แพทย์ทำการรักษา แต่ว่าทางญาติของ ด.ช.โต้ง ไม่ยินยอม.“

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการวิเคราะห์ข่าว และหากเป็นครูแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้จะทำอย่างไร
          ข้าพเจ้าคิดว่าในกรณีของ ด.ช.โต้ง (นามสมมุติ) อายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ชัยภูมิ ได้ถูกครูที่โรงเรียนทำร้ายร่างกายจนแก้วหูฉีกขาด เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และหูซ้ายอาจต้องพิการไปตลอดชีวิตนั้น ครูได้ลงโทษนักเรียนแรงเกินไป ซึ่งนักเรียนก็แค่หยอกล้อเล่นกันกับเพื่อนร่วมห้องในห้องเรียน ตามประสาเด็กนักเรียนที่เพิ่งเปิดเทอมใหม่ แต่นายโด้ (นามสมมุติ) ซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายปกครอง ได้ผ่านมาเห็นเข้า จึงเรียก ด.ช.โต้ง กับเพื่อนให้มาพบที่บริเวณหน้าชั้นเรียน จากนั้นอาจารย์คนดังกล่าวได้ใช้มือตบเข้าที่บริเวณใบหน้าและกกหูด้านซ้ายของ ด.ช.โต้ง อย่างแรง จนล้มฟุบไปกองกับพื้น และยังได้ใช้เท้ากระทืบซ้ำไปที่ชายโครงอีก 1 ครั้ง ท่ามกลางสายตาเพื่อนนักเรียนร่วมห้องกว่า 30 คน หลังจากนั้นก็ได้พูดจาข่มขู่ ด.ช.โต้ง ต่างๆนานา การกระทำของครูเช่นนี้เป็นตัวอย่างการลงโทษนักเรียนที่ผิด ซึ่งครูควรคิด ไตร่ตรองก่อนที่จะลงโทษนักเรียน ว่าถ้าลงโทษแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ไม่ใช่อารมณ์ในการลงโทษ ครูควรคำนึงถึงระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วย ซึ่งระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาพ.ศ. 2548 ได้กำหนดวิธีการลงโทษไว้ซึ่งจะนำมากล่าวถึงในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญดังนี้
          ข้อ 4. ...“การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
          ข้อ 5 โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี4 สถาน ดังนี้
                    1.ว่ากล่าวตักเตือน
                    2.ทำทัณฑ์บน
                    3.ตัดคะแนนความประพฤติ
                    4.ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
          ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความ ประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีต่อไปให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษ นักเรียน นักศึกษา
          ข้อ 7. การว่ากล่าวตักเตือน ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
          ถ้าข้าพเจ้าเป็นครูแล้วเจอสถานการณ์แบบนี้ ข้าพเจ้าจะตักเตือนนักเรียนก่อน ถามเหตุผลว่าทำไมจึงทำพฤติกรรมแบบนี้ ก่อนที่จะลงโทษนักเรียน ข้าพเจ้าจะไม่ใช้ความรุนแรงต่อนักเรียน เหมือนกับนายโด้ (นามสมมุติ) ครูที่ได้ใช้มือตบเข้าที่บริเวณใบหน้าและกกหูด้านซ้ายของ ด.ช.โต้ง อย่างแรง จนล้มฟุบไปกองกับพื้น และยังได้ใช้เท้ากระทืบซ้ำไปที่ชายโครงอีก 1 หลังจากนั้นก็ได้พูดจาข่มขู่ ด.ช.โต้ง ต่างๆนานา เพราะข้าพเจ้าคิดว่าความรุนแรงไม่ได้ช่วยทำให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่สิ่งที่จะทำได้คือหาสาเหตุของพฤติกรรมนั้นแล้วนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น
         
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์.  (2559).  ผู้ปกครองเด็กนร.ชั้น ม.1 ในจ.ชัยภูมิ ร้องขอความเป็นธรรมกับสื่อ
          หลังหลานถูกอาจารย์ฝ่ายปกครองตบบ้องหูจนแก้วหูฉีก แถมยังกระทืบซ้ำต่อหน้าเพื่อนๆ
          ในห้องเรียนค้นเมื่อ มกราคม 27, 2560, จาก http://www.dailynews.co.th/regional/324246





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น