แบบฝึกหัด
คำสั่ง :
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย
หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่า มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้
มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือคำนิยามที่เรียกว่า “สัตว์สังคม”
จำเป็นต้องพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่รวมกันเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้
แต่การอยู่รวมกันของมนุษย์นั้น อาจเกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย
ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จะไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย
กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบเรียบร้อย
หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนวทางเดียวกัน
ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย
หากไม่มีกฎหมายนั้น
สังคมก็จะมีแต่ความวุ่นวาย เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ไร้ซึ่งระเบียบวินัย
ทุกคนดำเนินชีวิตโดยไร้บรรทัดฐานเดียวกัน มนุษย์ทุกคนก็จะแสดงความเห็นแก่ตัวมากขึ้น
สุดท้ายสังคมมนุษย์จะไม่อาจดำรงอยู่ได้
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ
ข้าพเจ้าคิดว่า สังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้ เพราะ กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบ
เรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ สอดคล้องกับคำที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมาย” ซึ่งสังคมในปัจจุบันนั้นมีเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาต่างๆมากมาย อาทิเช่น
การชุมนุมทางการเมือง
การค้ามนุษย์ การคอรัปชั่น การใช้ความรุนแรงต่อกัน การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย โดยในสังคมปัจจุบันนั้นมีควาเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆมากมาย
ทำให้มนุษย์เกิดการพัฒนาทั้งในด้านดีและในด้านที่ไม่ดี จนทำให้การกะทำผิดของมนุษย์นั้นมีมากมายและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งกฎหมายต้องมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ก็จะสามารถทำความผิดได้ง่าย
โดยไม่ต้องคิดไตร่ตรองเพราะมนุษย์ที่กระทำความผิดก็จะไม่ได้รับการลงโทษ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และคนในสังคมอยู่กันอย่างไม่มีความสุข
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย ข.
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ค. ที่มาของกฎหมาย ง. ประเภทของกฎหมาย
ก.
ความหมาย
ตอบ กฎหมาย คือ
คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ
เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ
จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ 1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ
รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี
ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ ออกคำสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ
ถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ
ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์
ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน
พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค
เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ เช่น
กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้
การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อย่างอายุเข้า 18 ปี เข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี เป็นต้น
4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น
ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้
และสภาพบังคับในทางอาญา คือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น
รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค.
ที่มาของกฎหมาย
ตอบ
1.
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึงกฎหมายดังกล่าว
ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2.
จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน
หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น
การชกมวยเป็นกีฬา หากชกตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต
ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้
ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้
ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา
ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3.
ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น
ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น
กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4.
คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้
อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5.
ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น
สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ ๆ บัญญัติว่า
“การถืออาวุธในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุน”ต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่า
“การถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิด” จึงได้แก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว
ง.
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
หากเราจะแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
แบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง ได้แก่ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งได้เป็นกฎหมายในและกฎหมายนอก
1. กฎหมายใน
เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
1.1 แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก
เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
1.2
แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง
1.3
แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
1.4
แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์
แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2. กฎหมายภายนอกเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของความสัมพันธ์
2.1
กฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ
2.2
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง
2.3
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย
โดยทั่วๆไปมีดังนี้
ก. กฎหมายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฎเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่างๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น
เทศบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี
หลักกฎหมายทั่วไป
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา
เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือลายอย่าง
ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีภาพทางแพ่ง
ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะหรือโมฆียกรรม การบังคับใช้หนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย
หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้
เช่น กฎหมายที่ดินพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองบริโภค
และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้งยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีกตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
3.
กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ
หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล
มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนดการกระทำผิด
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย
กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้
กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินทางคดีอาญา การร้องทุกข์
การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน
การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผูเกระทำผิด
สำหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่างๆไว้
เป็นวิธีการดำเนินคดีตั้งแต่เริ่มฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ยังมีกฎหมายบางฉบับที่เป็นสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็นประเภทใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วย การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
4.
กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม
เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือกฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กำหนดระเบียบ แบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย การกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ
และการบริการสาธารณะด้านต่างๆแก่ประชาชน กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม
รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด
4.2 กฎหมายเอกชน
เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่นพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัดเปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา
มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกผัน
โดยการทำสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกระการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
ข.
กฎหมายนอก มีดังนี้
1.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์ในกำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น
หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเอกสิทธิในทางการทูต
2.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐ
เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น
3.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่บุคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
gเช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศต้องมีกฎหมาย
จงอธิบาย
ตอบ ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า ทุกประเทศต้องมีกฎหมาย
เพราะ กฎหมายจะเป็นแบบแผนเพื่อควบคุมความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
ดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย”
กฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคม
ไม่มีสังคมไหนจะดำรงอยู่ได้โดยไม่มีกฎเกณฑ์สำหรับจัดระเบียบพฤติกรรมของคนในสังคม
มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข เพราะการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง
การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้
ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว
ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น
ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้
เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
และบรรทัดฐานที่สำคัญทางสังคมคือ กฎหมาย (Law)
เพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย เป็นสิ่งที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
โดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆกำหนด
หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความหมายต่างกัน
คือ สภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น
รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่ สภาพบังคับในคดีแพ่ง
ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร
ตอบ ระบบกฎหมายมี 2 ระบบ
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil
Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร
ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus
Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน
ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น
คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย
แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น
เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ
นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน
และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป
เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common
Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา
ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์
เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา
ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้
จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น
อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง
มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ
ได้มีนักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการแบ่งของแต่ละท่าน
การแบ่งประเภทของกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
หากเราจะแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
แบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง ได้แก่ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งได้เป็นกฎหมายในและกฎหมายนอก
ก.
กฎหมายใน มีดังนี้
ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย
โดยทั่วๆไปมีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่างๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น
เทศบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี
หลักกฎหมายทั่วไป
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา
เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีภาพทางแพ่ง
ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะหรือโมฆียกรรม การบังคับใช้หนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย
หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้
เช่น กฎหมายที่ดินพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองบริโภค
และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้งยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีกตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
3.
กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด
และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น
ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้
กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินทางคดีอาญา การร้องทุกข์
การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน
การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีในศาล ยังมีกฎหมายบางฉบับที่เป็นสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็นประเภทใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วย การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
4.
กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม
เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบ
แบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย การกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครอง
กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะด้านต่างๆแก่ประชาชน
กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม
4.2 กฎหมายเอกชน
เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่นพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง
2 ฝ่ายมีผลผูกผัน โดยการทำสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการ
ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
ข.
กฎหมายนอก มีดังนี้
1.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์ในกำหนดกล่าวคือ
1.1
ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง
1.2 ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน
1.3 มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
1.4 เป็นเอกราช
1.5 มีอธิปไตย เช่น
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น
หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเอกสิทธิในทางการทูต
2.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐ
เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น
3.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่บุคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร
มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ “ศักดิ์ของกฎหมาย”
เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
ในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า
กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้
โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจใจการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
(1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ
เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น
พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
(2) การให้รัฐสภา
เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
(3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy
of laws) มีดังนี้
1.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้
กฎหมายนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ
ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.
พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน
และพระมหากษัตริย์ที่ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา
ได้แก่ พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา
เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ หากเกี่ยวพันหลายเรื่อง
ออกในรูปประมวลกฎหมายก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน
ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น
สำหรับประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้นๆอีกครั้งหนึ่ง
3
พระราชกำหนด เป็นกฎที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญและทรงตราขึ้นตามคำแนะนำคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลกรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัยความมั่นคง
หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศเมื่อตราแล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3
วัน) ถ้าสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเสมือนพระราชบัญญัติ
ถ้าไม่อนุมัติมีอันตกไปไม่มีผล
4.ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโองการได้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆให้พระราชอำนาจไว้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนดใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะขับขัน
อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
5.พระราชกฤษฎีกา
เป็นกฎหมายที่มหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ตำกว่าพระราชบัญญัติพระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการและจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ยังมีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญเช่นพระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา
พระราชกฤษฎีกายุบสภามีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
6.กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้นๆเป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา
ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าสำคัญรองลงมา ก็ออกเป็นกฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บท นอกจากกฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ
จะออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย
7.ข้อบัญญัติจังหวัด
เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติการบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจการบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจปกครองดูแล
ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นที่องค์กรนั้นบริหารรับผิดชอบจึงให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อจัดเรียบสังคมดูแลทุกข์สุขของประชาชน
มีผลใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้นๆ จังบังคับนอกพื้นที่จังหวัดมิได้
8.เทศบัญญัติ
เป็นกฎหมายออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น3
ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
ซึ้งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่ประราชบัญญัติกำหนด
9.ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นกฎหมายที่มีลำดับที่ต่ำที่สุด ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารตำบล
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ที่จะปกครองดูแล และให้บริการสาธารณะแก่ตำบล
เพื่อในการบริหาราชการในท้องถิ่นของตำบลนั้น
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว
ยังมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิเศษ จัดตั้งขึ้น โดยกฎหมายพิเศษ เช่น
กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
ซึ้งประชาชนทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในระดับต่างๆดังกล่าวทั้งสิ้น
รัฐจะต้องสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน
ทำอย่างไรที่จะต้องให้ประชาชนได้รู้กฎหมายเพื่อป้องกันสิทธิ
และรู้จักหน้าที่ของตนในถานะเป็นพลเมืองที่ดี
แต่อย่างไรก็ตามยังมีกฎข้อบังคับอีกรูปแบบหนึ่งในทางวิชาการและในทางที่ปฏิบัติที่ถือว่าเป็นกฎหมาย
คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ บางครั้งเรียกว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติและไม่มีการลงปรมาภิไธย
ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ
ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
ให้มีศักดิ์ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกที่แก้ไขดังกล่าว
10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ
ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า
รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ
ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ
รัฐบาลกระทำผิด ทั้งๆที่ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ
แต่รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ
ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน
การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 ส่วนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมและการสงคราม
มาตรา
63
บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ
และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า
กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา
คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้
การจัดการศึกษาจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานหรือเครื่องมือในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการจัดองค์กร
การบริหารงานบุคคล การบริหารทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ซึ่งกฎหมายการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคน
ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษา
เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้
ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู
จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ
ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าคนเป็นครูไม่รู้เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา เมื่อเกิดปัญหาขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ
การจัดการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามระบบ การทุจริต การคอรัปชั่น การกระทำความผิดเอาเปรียบผู้อื่น
จะทำให้ไม่สามารถเอาโทษกับผู้ที่กระทำความผิดได้
ดังนั้นคนเป็นครูจึงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาให้มาก เพราะกฎหมายทางการศึกษา
เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายการศึกษาให้มาก
เพราะคนที่จะมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ
กฎหมายการศึกษา เพราะการจัดการศึกษาจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานหรือเครื่องมือในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์กร
การบริหารงานบุคคล การบริหารทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ซึ่งจะทำให้เราได้เข้าใจและนำไปให้ทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น